ต้นปีเทรนด์ความสนใจรถยนต์ไฟฟ้ามาแรง แซงเบนซิน คนไทยเปิดรับมากขึ้น รัฐอุดหนุนสร้างกระแสนิยม อีกทั้งค่ายรถสร้างทางเลือกหลากหลาย

ต้นปีเทรนด์ความสนใจรถยนต์ไฟฟ้ามาแรง แซงเบนซิน คนไทยเปิดรับมากขึ้น รัฐอุดหนุนสร้างกระแสนิยม อีกทั้งค่ายรถสร้างทางเลือกหลากหลาย

วันนี้ความสนใจและอยากซื้อเครื่องยนต์แบบไฟฟ้าผสม hybrid และ plug-in hybrid มีสูงมาก โดยรวมทุกชนิดของ EV เรียกได้ว่าสูงที่สุด’
จากผลสำรวจ ต้นปี 2022 เมื่อถามถึงเครื่องยนต์ที่อยากได้นั้น โดยรวมรถพลังงานไฟฟ้า xEV ได้รับความนิยมสูงถึง 83% โดยเฉพาะรถพลังงานไฟฟ้าแบบผสม (HEV, PHEV) ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องเลือกเพียงเครื่องยนต์ประเภทเดียวที่อยากได้ที่สุด คำตอบของเครื่องยนต์ไฟฟ้าลดลง จากความกังวลหลายอย่าง
ความสนใจในรถยนต์ไฟฟ้าที่มากขึ้น เนื่องจาก
• ผู้คนเห็นว่าราคาของรถจับต้องได้มากขึ้น และถูกลง 70,000-150,000 บาท ตามแต่ละระดับราคาของรุ่น จากมาตรการการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าจากภาครัฐที่น่าสนใจ
• รู้สึกตื่นเต้นกับการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ๆที่มีมาเรื่อยๆ ทำให้มีทางเลือกหลากหลายที่น่าสนใจ จากค่ายรถยุโรป ญี่ปุ่น รวมถึงจีน
• เมื่อเจอปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้อยากหาพลังงานทางเลือกที่ดีกว่า ประหยัดกว่า เพื่อคุมค่าใช้จ่ายต่อเดือนให้คงที่
• มองว่ารถยนต์ไฟฟ้าให้ประสบการณ์การขับขี่ที่แปลกใหม่ รวมถึงภาพลักษณ์ที่ส่งเสริมให้ผู้ขับ ดูดี ทันสมัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
“ใช้รถคันเดิมมาหลายปีแล้วต้องซ่อมบ่อยๆ อะไหล่หายากมากต้องไปหาซื้อที่เซียงกงบางนา ถ้าเป็นไปได้อยากเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ไม่ต้องยุ่งยากต้องเข้าอู่บ่อยๆ”

“รถยนต์คันเก่าเสื่อมสภาพแล้ว และรัฐอุดหนุนรถไฟฟ้า น่าสนใจที่จะซื้อ”
แต่สิ่งที่ยังทำให้ไม่มั่นใจ คือ
• ระยะสั้น
คนไทยยังคงกังวลกับความสะดวกในการชาร์จ ที่ต้องเตรียมพร้อมไว้ก่อนเดินทาง ถึงแม้จะมีหัวจ่ายไฟจากภาคเอกชนมารองรับตามปั้มน้ำมันและห้างฯ แต่ก็มีหลายกระแสผู้ใช้จริงที่รีวิวการใช้รถไฟฟ้าเดินทาง ก็ยังมองว่ายังไม่แพร่หลาย และใช้ไม่ได้จริงโดยเฉพาะเส้นทางต่างจังหวัด
• ระยะยาว
ยังคงกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่ตามมา รวมถึงการบำรุงรักษาโดยเฉพาะค่าแบตเตอรี่ที่ต้องเปลี่ยนหลังจากหมดอายุประกัน รวมไปถึงการจัดการแบตเตอรีที่เป็นขยะมลพิษอีกด้วย โดยมีมุมมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าควรตอบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ครบถ้วน
สิ่งที่นักการตลาดควรเตรียมตัวเพื่อตอบสนองเทรนด์ผู้บริโภคนี้
นอกจากการนำเสนอจุดเด่นที่แตกต่างของรถยนต์ไฟฟ้าจากแบรนด์และการรับประกันคุณภาพแล้ว ค่ายรถควรคลอบคลุมให้ความมั่นใจกับลูกค้าไม่ให้กังวลทั้งในด้านการใช้งานในระยะสั้น เช่น wallbox หรือ แพคเกจการชาร์จไฟฟรีทั่วประเทศ, จุดชาร์จไฟที่ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เป็นต้น และในระยะยาวที่แสดงความโปร่งใสในด้านราคาแบตเตอรี่ รวมถึงมาตรการความรับผิดชอบในการจัดการแบตเตอรี่ที่ไม่กระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความมั่นใจและรู้สึกดีต่อแบรนด์ เช่น มีการรับรองเรื่องแบตเตอรี่ให้เป็นระบบมากขึ้น

Refhttps://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/170015

อ่านต่อ
9 หุ้น ‘สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า’ เตรียมวิ่ง หลัง ‘บีไอไอ’ เว้นภาษีสูงสุด 5 ปี

9 หุ้น ‘สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า’ เตรียมวิ่ง หลัง ‘บีไอไอ’ เว้นภาษีสูงสุด 5 ปี

ที่ประชุมบีโอไอ อนุมัติปรับปรุงสิทธิประโยชน์การให้ส่งเสริมลงทุนกิจการสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานพาหนะไฟฟ้า ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี ส่วนกรณีอื่นๆ ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินนิติบุคคล 3 ปี ส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนที่ลงทุนในธุรกิจ ‘สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า’ ได้รับอานิสงส์ไปด้วย ซึ่งขณะนี้มีทั้งหมด 9 หุ้นที่เกี่ยวข้องกับ ‘สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า’

1.บมจ.ปตท. (PTT) Market Cap 1,078,253.11 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลัง YTD -0.66% ราคา ณ 8 เม.ย.65 คือ 37.75 บาท เหลืออัปไซด์ 35.36% จากราคาเป้าหมาย 51.50 บาท ค่า P/E 9.95 เท่า ค่า P/BV 1.07เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน 5.30% เงินปันผล 0.80 บาท/หุ้น จ่าย 29 เม.ย.65

กลุ่ม ปตท. เปิด EV Charging Station ให้บริการ “จอง จอด จ่าย ง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว” ปี 65 ขยายกว่า 1,000 เครื่อง รับการเติบโตตลาดยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ ตอบโจทย์ผู้ใช้ EV ให้พลังงานทางเลือก

2.บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) Market Cap 604,113.57 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลัง YTD +13.98% ราคา ณ 8 เม.ย.65 คือ 67.25 บาท เหลืออัปไซด์ 11.52% จากราคาเป้าหมาย 75.00 บาท ค่า P/E 46.52 เท่า ค่า P/BV 5.80 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน 0.89% เงินปันผล 0.60 บาท/หุ้น จ่าย 20 พ.ค.65

CPALL จับมือกับบริษัท พลังงานมหานคร จำกัด หรือ EA โดยจะติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าบริเวณพื้นที่หน้าร้านเซเว่น อีเลฟเว่น จำนวน 21 สาขา เพื่ออำนวยความสะดวก และตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของลูกค้าทุกกลุ่มตลอด 24 ชั่วโมง ภายใต้โครงการ 7 Go Green
3.บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (DELTA) Market Cap 465,273.34 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลัง YTD -9.47% ราคา ณ 8 เม.ย.65 คือ 373.00 บาท เหลืออัปไซด์ 5.36% จากราคาเป้าหมาย 393.00 บาท ค่า P/E 69.45 เท่า ค่า P/BV 11.24 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน 0.46% เงินปันผล 1.70 บาท/หุ้น จ่าย 22 เม.ย.65

DELTA ลุยธุรกิจ EV Charging ซึ่งบริษัทมีผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย 2 ส่วนคือ On Board และ Off Board ซึ่งจะเติบโตควบคู่ไปกับอุตสาหกรรม EV โดยการจำหน่ายที่ชาร์จนั้น หลักๆ จะเป็นมากจากที่พักอาศัยกว่า 60% เพราะในอนาคตจะมีที่ชาจน์ส่วนตัวทั้งในคอนโดมิเนียม และในบ้าน

4.บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) Market Cap 326,375.00 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลัง YTD -8.85% ราคา ณ 8 เม.ย.65 คือ 87.50 บาท เหลืออัปไซด์ 1.14% จากราคาเป้าหมาย 88.50 บาท ค่า P/E 53.50 เท่า ค่า P/BV 10.04 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน 0.34% เงินปันผล 0.30 บาท/หุ้น จ่าย 20 พ.ค.65

EA เดินหน้าติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 425 สถานี โดยบริษัทมีเป้าหมายอย่างน้อย 1,000 สถานีทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของ Electric Car, Electric Bus บริษัทจะมีการส่งมอบให้อู่รถร่วมของ ขสมก. Electric Ferry นอกจากนี้ ยังมีในส่วนแบตเตอรี่ และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System : ESS)
5.บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก (OR) Market Cap 303,000.00 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลัง YTD -6.48% ราคา ณ 8 เม.ย.65 คือ 25.25 บาท เหลืออัปไซด์ 2.97% จากราคาเป้าหมาย 26.00 บาท ค่า P/E 26.41 เท่า ค่าP/BV 3.04 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน 1.82% เงินปันผล 0.19 บาท/หุ้น จ่าย 28 เม.ย.65

ปีนี้ OR ตั้งเป้าพัฒนาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน PTT Station เพิ่มอีก 200 แห่ง คาดว่าภายในสิ้นปีจำนวนสถานีจะเป็นไปตามเป้าหมาย 300 แห่ง และยังมีการขยายจำนวนสถานีชาร์จนอกสถานีบริการ PTT Station อีก 150 แห่ง

6.บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น ( BCP) Market Cap 41,996.16 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลัง YTD +20.79% ราคา ณ 8 เม.ย. 65 คือ 30.50 บาท เหลืออัปไซด์ 15.90% จากราคาเป้าหมาย 35.35 บาท ค่า P/E 5.43 เท่า ค่า P/BV 0.77 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน 6.56% เงินปันผล 1.00 บาท/หุ้น จ่าย 22 เม.ย.65

BCP ผนึกเอ็มจี ผุด MG Super Charge หนุนสู่เป้าหมายเพิ่มสถานีชาร์จรถอีวี 100 สาขาปี 64 ขึ้นแท่นเบอร์ 1 ผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน

7.บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น (FORTH) Market Cap 31,920.00 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลัง YTD +56.84% ราคา ณ 8 เม.ย.65 คือ 33.25 บาท ดาวน์ไซด์ 42.86% จากราคาเป้าหมาย 19.00 บาท ค่า P/E 43.03 เท่า ค่า P/BV 18.26เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน 1.35% เงินปันผล 0.30 บาท/หุ้น จ่าย 5 พ.ค.65
FORTH เดินหน้าในการทำตลาดสถานีชาร์จรถ EV ซึ่งเป็นการเติบโตไปควบคู่กับยานยนต์ไฟฟ้าที่มีโอกาสที่มากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ขณะธุรกิจหลักผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ โซลูชัน ธุรกิจบริการธุรกรรมการเงินออนไลน์ จำหน่ายสินค้าและบริการผ่านตู้อัตโนมัติ

X

8.บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) Market Cap 22,211.00 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลัง YTD -11.92% ราคา ณ 8 เม.ย.65 คือ 13.30 บาท เหลืออัปไซด์ 29.70% จากราคาเป้าหมาย 17.25 บาท ค่า P/E 22.07 เท่า ค่า P/BV 2.74 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน 1.88% เงินปันผล 0.25 บาท/หุ้น จ่าย 20 พ.ค.2565

PTG ตั้งเป้าเปิดสถานีชาร์จ EV อีก 120 แห่งในปี 65 จากสิ้นปีนี้อยู่ที่ 30 สถานี ชูเบื้องต้นต้องมีสถานีชาร์จทุกๆ 150-200 กม. ส่วนระยะยาวลั่นจะต้องมีทุก 100 กม.

9.บมจ.แสนสิริ (SIRI) Market Cap 17,863.02 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนจากราคาย้อนหลัง YTD -2.44% ราคา ณ 8 เม.ย.65 คือ 1.20 บาท เหลืออัปไซด์ 12.50% จากราคาเป้าหมาย 1.35 บาท ค่า P/E 8.86 เท่า ค่า P/BV 0.46 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทน 5.00% เงินปันผล 0.06 บาท/หุ้น จ่าย 20 พ.ค.65

SIRI ผนึกชาร์จ แมเนจเม้นท์ ทุ่มงบติดตั้ง EV Charging ตั้งเป้าภายใน 3 ปี ทุกโครงการแนวสูง แนวราบเซกเมนต์บีขึ้นไปต้องมีที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม กระแสรถยนต์ไฟฟ้ามาแรงอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกเมืองไทยยังออกมาเกาะขบวน รถยนต์ไฟฟ้าที่เป็นเทรนด์โลกในขณะนี้ ด้วยการเปิดให้บริการจุดชาร์จ EV ในศูนย์การค้าหลายแห่งแล้ว

Ref.https://mgronline.com/stockmarket/detail/9650000034799

อ่านต่อ
รถยนต์ไฟฟ้าจีนมาอีกแล้ว โลมาพาเพลิน BYD Dolphin เตรียมประกอบขายในไทยปลายปีนี้

รถยนต์ไฟฟ้าจีนมาอีกแล้ว โลมาพาเพลิน BYD Dolphin เตรียมประกอบขายในไทยปลายปีนี้

ความแพร่หลายของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีนนั้นมากกว่า 300 แบรนด์ ทำให้จีนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการยานยนต์พลังงานไฟฟ้าไปโดยปริยาย การมองเห็นอนาคตของระบบขับเคลื่อนพลังงานสะอาด รวมถึงความมุ่งมั่นในการลดมลพิษ โดยเฉพาะฝุ่นควันที่เกิดจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้รัฐบาลจีนเล็งเห็นถึงประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้าและให้การสนับสนุนการผลิตในประเทศอย่างเต็มที่ ล่าสุด BYD บริษัทแม่ จากประเทศจีน เตรียมเข้ามาทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยช่วงเดือนมิถุนายน นี้ ! โดยร่วมมือกับกลุ่มสยามกลการ โดยมีการลงทุนถึง 20,000 ล้านบาท ผุดโรงงานผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าพวงมาลัยขวาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อ BYD Automobile (Thailand)

สำหรับแผนงานในการลงทุนร่วมกันระหว่างกลุ่มสยามกลการและ BYD จากประเทศจีน กับ 4 กลุ่มทุนไทย รวม 20,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

โรงงานผลิตรถยนต์ ประมาณ 17,300 ล้านบาท
BYD บริษัทแม่ ลงทุน 85%
กลุ่มทุนไทย ลงทุน 15%

การขาย และ บริการหลังการขาย ประมาณ 2,300 ล้านบาท
กลุ่มทุนไทย ลงทุน 85%
BYD บริษัทแม่ ลงทุน 15%
ผลิตภัณฑ์ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า BYD รุ่นแรกที่จะเข้ามาประกอบขายในไทย ซึ่งจะทำการเปิดตัวในช่วงปลายปีนี้ ก็คือ BYD Dolphin (EA1) รถยนต์ไฟฟ้า 100% คู่แข่งของ ORA Good Cat และ MG ZS EV โดย BYD Dolphin สร้างบนพื้นฐานรถยนต์ไฟฟ้า BYD e platform 3.0 ขนาดตัวถังของเจ้าโลมาจะใกล้เคียงกับเจ้าแมวแสนดี แต่สั้นและแคบกว่านิดหน่อย
ถยนต์ไฟฟ้า BYD Dolphin ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า Permanent Magnet Synchonous Motor กำลัง 177 แรงม้า แรงบิด 290 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ BYD Blade Battery (LFP) ความจุ 44.9 kWh มอเตอร์ไฟฟ้าวางคล่อมเพลาขับหน้า แบบขับเคลื่อนล้อหน้า ตัวเลขสมรรถนะ อัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 7.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทำการต่อการชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มไกล 405 กิโลเมตร แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน รองรับการชาร์จ 800 Volt Technology การชาร์จปกติด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ AC รองรับสูงสุด 7 kW ใช้เวลาชาร์จจาก 0-100% ใน 6 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนการชาร์จเร็วแบบอัดประจุไฟเต็มเหนี่ยว ด้วยระบบชาร์จกระแสตรง DC Fast Charging สูงสุด 60 kW ชาร์จไฟจาก 30 จนถึง 80% ภายใน 30 นาที! กินกาแฟหมดแก้วแล้วรออีกหน่อยก็วิ่งได้ถึง 300 กิโลเมตร
BYD Automobile (Thailand) เตรียมตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย และจะเซ็น MOU เข้าร่วมโครงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า100% ตามนโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าประกอบในประเทศของภาครัฐ ทำให้ได้รับส่วนลด 150,000 บาท ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า 100%

ราคาของ BYD Dolphin หลังได้รับส่วนลดจากภาครัฐ คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 700,000 กว่าบาท ถูกกว่า ORA Good Cat รุ่น 400 Pro และสูสีกับ MG EP PLus.

Ref.https://autolifethailand.tv/byd-dolphin-ev-thailand-june-2022/

อ่านต่อ
ORA Good Cat GT รถยนต์ไฟฟ้า 100% เปิดตัวในไทย พฤษภาคม นี้ รุ่นปกติปรับลดอีกราว 50,000 บาท

ORA Good Cat GT รถยนต์ไฟฟ้า 100% เปิดตัวในไทย พฤษภาคม นี้ รุ่นปกติปรับลดอีกราว 50,000 บาท

ORA Good Cat รหัส ES11 หรือมีชื่อในภาษาจีน คือ ” Haomao (เฮาเม่า) ” ที่แปลว่า แมวดี เป็นหนึ่งในรถยนต์ไฟฟ้าตระกูลแมวเหมียวของ ORA ซึ่งมีทั้ง Good Cat | White Cat | Black Cat ซึ่ง Good Cat มาประเดิมรถยนต์ไฟฟ้า EV 100% รุ่นแรกในไทย ภายใต้ Great Wall Motors เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อ 29 ตุลาคม 2021 ที่ผ่านมา

ณ วันเปิดราคาอย่างเป็นทางการ ORA Good Cat มีให้เลือก 3 รุ่นย่อย คือ TECH 400 989,000 บาท / PRO 400 1,059,000 บาท / ULTRA 500 1,199,000 บาท
จากนั้น Great Wall Motor (GWM) มีการเซ็น MOU เข้าร่วมโครงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า100% ของรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 พร้อมกับค่าย MG ตามมาตรการสนับสนุนของรัฐ ส่วนลด 150,000 บาท + ลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า 100% จาก 8% เหลือ 2%

ทำให้ราคาปัจจุบันของ ORA Good Cat ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2565 อยู่ที่

Good Cat TECH 400km. 989,000 บาท 828,500 บาท*
Good Cat PRO 400km. 1,059,000 บาท 898,500 บาท*
Good Cat ULTRA 500km. 1,199,000 บาท 1,038,500 บาท*

Ref.https://autolifethailand.tv/ora-good-cat-gt-coming-thailand-may-22/

อ่านต่อ
ส่งเสริม “เทคโนโลยี” สร้าง “เกษตรกรรุ่นใหม่”

ส่งเสริม “เทคโนโลยี” สร้าง “เกษตรกรรุ่นใหม่”

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 โดยมีจำนวนผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี ในสัดส่วนที่สูงกว่า 20% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยที่ผ่านมาหลายฝ่ายพยายามสร้างความพร้อมสำหรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เช่น ระบบการออม การจ้างงาน แต่ดูเหมือนจะยังไม่เพียงพอ และผู้สูงอายุในประเทศไทยจำนวนไม่น้อยเข้าสู่ลักษณะแก่ก่อนรวย หรือมีความสามารถไม่เพียงพอที่จะดูแลตัวเองในช่วงสูงวัย

สถานการณ์สังคมผู้สูงอายุครอบคลุมไปถึงภาคการเกษตร ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รายงานว่าในปี 2560 มีจำนวนครัวเรือนเกษตร 5.9 ล้านครัวเรือน มีสมาชิกเฉลี่ยครัวเรือนละ 4.04 คน ขนาดแรงงาน 2.88 คนต่อครัวเรือน อายุเฉลี่ยของแรงงานภาคเกษตร คือ 56 ปี และมีผู้สูงอายุสูง (65 ปีขึ้นไป) 12.48% ของประชากรภาคเกษตรทั้งหมด ซึ่งจะเห็นเกษตรกรกลุ่มนี้มีการผลิต การออม และการลงทุนลดลง รวมทั้งมีแนวโน้มเปลี่ยนไปทำการเกษตรที่ใช้แรงงานลงหรือใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

นอกจากนี้มีหลายปัจจัยที่ทำให้คนรุ่นใหม่หันหลังให้กับอาชีพเกษตรกร คือ งานภาคเกษตรไม่มีสวัสดิการ รายได้เกษตรกรอยู่ในระดับต่ำ และการขาดปัจจัยการผลิตหรือทุนในการผลิต ซึ่งการจะแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุในภาคการเกษตรจะต้องมองให้ครบทุกด้าน เพื่อสร้างแรงจูงใจเข้าสู่ภาคการเกษตร เช่น การสร้างระบบสวัสดิการให้กับเกษตรกร ซึ่งต้องมาดูว่าระบบสวัสดิการปัจจุบันเหมาะสมกับเกษตรกรหรือไม่ เช่น การประกันตนตามมาตรา 40 ของกองทุนประกันสังคม

ที่ผ่านมามีความพยายามที่จะสร้างเกษตรกรอัจฉริยะรุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer เพื่อดึงลูกหลานของเกษตรกรให้กลับเข้าสู่ภาคการเกษตร ซึ่งการทำงานภาคเกษตรที่ใช้แรงงานมากในอดีตเป็นปัจจัยที่ผลักดันคนรุ่นใหม่ในครอบครัวเกษตรกรหันหลังให้กับภาคการเกษตร ดังนั้นการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคเกษตรการมากขึ้น จะเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่สนใจเข้าสู่อาชีพเกษตรกรได้ ซึ่งต้องได้แรงสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและการเปลี่ยนกรอบความคิดของเกษตรกร

เทคโนโลยีจะมีส่วนสำคัญในการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยจะเข้ามาช่วยเหลือได้ทั้งในส่วนการผลิต เช่น โดรน แอปพลิเคชัน รวมทั้งช่วยเหลือได้ทั้งในส่วนการตลาด เช่น การค้าออนไลน์ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวยังไม่แพร่หลายมากนัก และจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมทั้งในด้านองค์ความรู้ การเข้าถึงเทคโนโลยีและเงินทุน โดยปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจัยดังกล่าวมีความจำเป็นต่อการผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรไทยมีความเข้มแข็งแข่งกับสินค้าเกษตรต่างประเทศได้

Ref. www. bangkokbiznews.com

อ่านต่อ
แนะใช้ รถเมล์พลังงานไฟฟ้า หลังราคาพลังงานผันผวน เพิ่มคุณภาพชีวิต ช่วยลด PM 2.5

แนะใช้ รถเมล์พลังงานไฟฟ้า หลังราคาพลังงานผันผวน เพิ่มคุณภาพชีวิต ช่วยลด PM 2.5

วันที่ 2 เม.ย.65 นายอริย์ธัช ชาติอาริยะพงศ์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า ในสถานการณ์ที่ราคาพลังงานมีความผันผวน และฝุ่นละออง PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาหลักของบ้านเรา เชื่อว่ารถโดยสารสาธารณะพลังงานไฟฟ้าจะเป็นอีก ทางหลักที่มากกว่าทางเลือก
โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หากปรับรูปแบบมาใช้พลังงานไฟฟ้า จะเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ด้วย ซึ่งตนขอสนับสนุนนโยบายการใช้รถเมล์ปรับอากาศไฟฟ้าแทนการใช้รถดีเซล
เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด ลดฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ผ่านมาทราบว่า กรมการขนส่งทางบกมีแผนปฏิรูปรถโดยสารประจำทางหมวด 1 ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 77 เส้นทาง ซึ่งนโยบายเหล่านี้มีผลโดยตรงกับพี่น้องประชาชนจำนวนมาก
“หากใครเคยนั่งรถเมล์ร้อนคงนึกภาพออก ยิ่งช่วงเดือนเม.ย.แบบนี้คือที่สุดของความทรมาน ทั้งจากอุณหภูมิ และฝุ่นควัน ซึ่งเป็นสิ่งบั่นทอนคุณสุขภาพผู้โดยสาร และบั่นทอนคุณภาพอากาศไปพร้อมกัน การผลักดันนโยบายรถโดยสารสาธารณะพลังงานไฟฟ้า จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด ผมเชื่อว่าภาครัฐ และผู้ประกอบการขนส่ง มีศักยภาพมากพอที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จโดยเร็ววันได้” นายอริย์ธัช กล่าว

Ref. https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6977337

อ่านต่อ
ซีพีเอฟ มุ่งพัฒนาห่วงโซ่การผลิตกุ้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เดินหน้าเพิ่มใช้พลังงานสะอาด

ซีพีเอฟ มุ่งพัฒนาห่วงโซ่การผลิตกุ้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เดินหน้าเพิ่มใช้พลังงานสะอาด

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นพัฒนาตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตกุ้งที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เดินหน้าเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด ทั้งในฟาร์มและโรงงาน พร้อมยกเลิกใช้ถ่านหินในประเทศไทยภายในปี 2565 มีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนเป้าหมายสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutral ในปี 2573

นายไพโรจน์ อภิรักษ์นุสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจกุ้ง ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบตลอดห่วงโซ่การผลิตกุ้ง ตั้งแต่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ ฟาร์มกุ้ง โรงงานผลิตอาหารแปรรูป โดยนำพลังงานชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในกระบวนการผลิต ปัจจุบันมีการติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ในฟาร์มกุ้ง ในประเทศไทย 5 แห่ง และปีนี้ มีแผนติดตั้งโซล่าร์เซลล์เพิ่มในโรงเพาะฟักลูกกุ้งอีก 8 แห่ง นอกจากนี้ บริษัทฯ จะยกเลิกการใช้ถ่านหินในห่วงโซ่การผลิตกุ้งในประเทศไทยทั้งหมดภายในปีนี้ ตามเป้าหมาย CPF Coal Free 2022
“ซีพีเอฟ ยังเดินหน้าศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้พลังงานหมุนเวียนในฟาร์มและโรงงานในห่วงโซ่การผลิตกุ้งอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการผลิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนใหม่ CPF 2030 Sustainability in Action ภายใต้เสาหลัก “ดิน น้ำ ป่า คงอยู่” นายไพโรจน์กล่าว
ปัจจุบัน มีฟาร์มกุ้งของซีพีเอฟ 5 แห่ง ที่ได้ติดตั้งโซล่าร์เซลล์เพื่อใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้กับเครื่องให้อากาศในบ่อกุ้ง และ ไฟแสงสว่างในฟาร์ม มีกำลังการผลิตรวม 3.471 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย 1.ฟาร์มกุ้งร้อยเพชร จ.ระยอง 2.ฟาร์มบางสระเก้า จ.ตราด 3. ฟาร์มกุ้งลักกี้ 1 จ.ระยอง 4. ฟาร์มเพชรบุรี 5.ฟาร์มเพาะฟักลูกกุ้งปะทิว จ.ชุมพร นอกจากนี้ โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ 2 แห่งได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านบึง จ.ชลบุรี และโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านพรุ จ.สงขลา ได้ยกเลิกการใช้พลังงานถ่านหินและหันมาใช้พลังงานชีวมวลแทน และกำลังอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานของโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำอีก 2 แห่ง ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำมหาชัย จ.สมุทรสาคร และโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำหนองแค จ.สระบุรี หันใช้พลังงานหมุนเวียน และยกเลิกการใช้ถ่านหินภายในปีนี้ ส่งผลให้ภายในปี 2565 ตลอดห่วงโซ่การผลิตกุ้งในประเทศไทยไม่มีการใช้พลังงานถ่านหิน
บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อหาแนวทางต่าง ๆ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า โดยประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อช่วยควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งการจัดการน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำและอุณหภูมิน้ำในบ่อเลี้ยง ระบบน้ำหมุนเวียน (Recirculating Aquaculture System :RAS) ด้วยการใช้ Ultrafiltration (UF) เพื่อกรองน้ำจากแหล่งน้ำภายนอกและน้ำที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ให้สะอาดและปลอดจากเชื้อก่อโรค และระบบไบโอฟลอค (Bio-floc) ใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยง ช่วยลดการเปลี่ยนถ่ายน้ำในระหว่างการเลี้ยงกุ้ง ควบคู่ไปกับระบบการเลี้ยงภายใต้หลัก “3 สะอาด” “กุ้งสะอาด น้ำสะอาด และ บ่อสะอาด” ช่วยให้กุ้งแข็งแรง โตเร็ว ช่วยป้องกันโรคมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผลผลิตกุ้งของซีพีเอฟไม่ใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยง ช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร และสร้างห่วงโซ่การผลิตอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Ref. https://www.prachachat.net/public-relations/news-903048

อ่านต่อ
Hitachi Energy (Thailand) Limited พร้อมขับเคลื่อนอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

Hitachi Energy (Thailand) Limited พร้อมขับเคลื่อนอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน

“Hitachi Energy มุ่งมั่นขับเคลื่อนอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน พร้อมเป็นพันธมิตรที่ดีในการสนับสนุนการดำเนินการตามนโยบายความยั่งยืน และทิศทางที่ประชาคมโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมากคือเรื่องของ Carbon Neutrality”

ในปัจจุบันทุกประเทศต่างให้ความสำคัญและร่วมมือกันด้านพลังงาน เพื่อให้เราสามารถก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่การผลิตและการใช้พลังงานสะอาดผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยี พร้อมพัฒนารูปแบบพลังงานให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการพลังงานทั้งในด้านอุตสาหกรรมและความต้องการของภาคประชาชน การใช้เทคโนโลยีผลิตพลังงานสะอาดเป็นพลังงานหลักจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในอนาคต เพื่อลดปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งยังช่วยขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น พลังงานสะอาดหรือ Clean Energy จึงเป็นหนึ่งใน Global Mega Trends ที่มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ดร.วรวุฒิ วรุตตมพรสุ Country Managing Director บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เผยความสำเร็จและการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด พร้อมมุ่งดำเนินการให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการของบริษัทเพื่อสนับสนุนกระบวนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน มุ่งมั่นที่จะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย Carbon-Neutral เพื่อการเร่งสร้างอนาคตที่ปราศจากคาร์บอน

ความเป็นมา

Hitachi Energyเป็นบริษัทที่เกิดจากการถ่ายทอดประสบการณ์อันยาวนานระหว่าง Hitachi กับ ABB ซึ่ง Hitachi ถือหุ้นประมาณ 80% และ ABB ถือหุ้นประมาณ 20% ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ทาง Power Grids Business ของ ABB ได้เปลี่ยนแปลงเป็น Hitachi ABB Power Grids ซึ่ง ณ ช่วงเวลานั้นเป็นเหมือนบริษัทใหม่ แต่ในความเป็นจริงบริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่มีรากฐานจากบริษัท เอบีบี จำกัด ซึ่งมีเรื่องราวและประสบการณ์มากกว่า 100 ปี ผนวกกับฮิตาชิเองซึ่งมีรากฐานยาวนานมากกว่า 100 ปีเช่นกัน นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 Hitachi ABB Power Grids มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องในแง่ของ Power Grids Business จนมาถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 Hitachi ABB Power Grids ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อมาเป็น Hitachi Energy เพื่อตอกย้ำการสร้างแบรนด์ให้ครอบคลุมในแง่ของพลังงานมากยิ่งขึ้น โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีพนักงานประมาณ 38,000 คนใน 90 ประเทศทั่วโลก

สำหรับประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จํากัด เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เพื่อสนับสนุนและร่วมพัฒนาอนาคตพลังงานอย่างยั่งยืนในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา ด้วยกระบวนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน ผ่านนวัตกรรมและความร่วมมือจากทีมงานระดับโลกและภูมิภาคที่มีความเชี่ยวชาญและมีความหลากหลายมาช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน ซึ่งบริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ให้คำมั่นว่าทีมงานทุกคนจะมีส่วนช่วยสนับสนุนและสามารถจัดการกับความท้าทายระดับโลกนี้ได้

ความท้าทายด้านพลังงาน

มีการคาดการณ์ว่าในอนาคตความต้องการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกจะมีเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าภายในปี พ.ศ. 2593 และไฟฟ้าจะกลายเป็นองค์ประกอบหลักของระบบพลังงานทั้งหมด ซึ่ง Hitachi Energy พร้อมเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการก้าวไปสู่อนาคตด้านพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน
Hitachi Energy มีความมุ่งมั่นที่จะผลักดันให้เกิดนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนแห่งอนาคต ซึ่งการให้คำมั่นสัญญาถึงอนาคตเกี่ยวกับความเป็นกลางทางคาร์บอนจะต้องอาศัยความมุ่งมั่น ความน่าเชื่อถือ และนวัตกรรม โดยประโยชน์ที่ได้รับจะมีมากมายมหาศาลทั้งสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นต่อไปในอนาคต และด้วยชื่อ Hitachi Energy จะทำให้พันธกิจสามารถขยายขอบเขตไปได้กว้างขวางขึ้น เพื่อการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีอย่างแท้จริงให้กับลูกค้า พนักงาน และประเทศชาติ

“บริษัทพร้อมให้บริการลูกค้าครบทุกภาคส่วนทั้งทางด้านระบบสาธารณูปโภค ภาคส่วนอุตสาหกรรม และระบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยนวัตกรรมและบริการที่ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนี้บริษัทยังโฟกัสเรื่องของธุรกิจใหม่ ๆ แต่ละธุรกิจ มีการสนับสนุนงานด้าน Digital Transformation, Energy Transition อย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง Carbon Neutrality และมีการขยายเพิ่มเติมในส่วนของ Portfolio ที่เราได้สนับสนุนลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้นอกเหนือจาก การไฟฟ้าทั้ง 3 หน่วยงานแล้ว ยังมีลูกค้าภาคเอกชนที่ได้มีการแบ่งออกเป็นภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Oil and Gas, Petrochemical, Building, Food and Beverage, Metal and Steel, Pulp and Paper, Infrastructure, Transportation งานที่เกี่ยวกับรถไฟฟ้า กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีก ซึ่งในปัจจุบันแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น มีการเจริญเติบโตของการใช้ไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว ตรงส่วนนี้ทาง Hitachi Energy พร้อมที่จะเข้าไปเติมเต็มให้ทุกภาคส่วนดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ” ดร.วรวุฒิ กล่าว

Hitachi Energy มีความมุ่งมั่นให้เกิดพลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต

บริษัทฯ ให้บริการลูกค้าผ่านความสามารถระดับโลกและการจัดตั้งบริษัทอยู่ในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นแนวทางในการเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานและส่งมอบความสำเร็จให้กับลูกค้า เราเป็นผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีพลังงานและระบบพลังงานด้วยโซลูชั่นต่าง ๆ ที่ตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และต้องการความมีเสถียรภาพ มีความมั่นคง เชื่อถือได้ ยั่งยืนในรูปแบบที่ทันสมัย

“ด้วยโซลูชั่นของเราที่มีประสิทธิภาพ ผสานกับทีมงานที่มีคุณภาพ ซึ่งการทำงานนั้นทางทีมจะช่วยวางแผนตั้งแต่เริ่มดำเนินการ แนะนำการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ในขณะเดียวกันทีมงานจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นโดยรวม มีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยการส่งเสริมและการกระจายพลังงานจากแหล่งทั่วไปและแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” ดร.วรวุฒิ กล่าวเสริมพร้อมแนะนำผลิตภัณฑ์ของแต่ละหน่วยธุรกิจ
4 Business Units ของ Hitachi Energy พร้อมผนึกกำลัง เติมเต็มซึ่งกันและกันเพื่อพลังงานที่ยั่งยืน

Grid Automation

Grid Automation ของ Hitachi Energy มีโซลูชั่นที่ครอบคลุม ตั้งแต่สถานีไฟฟ้าย่อย เครือข่ายการสื่อสาร grid automation services, grid edge solutions ไปจนถึงโซลูชั่น enterprise software ซึ่งโซลูชั่นเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการจัดการเชื่อมต่อกับระบบพลังงาน การผลิต การกระจายการส่ง ภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง และโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยธุรกิจ Grid Automation ของ Hitachi Energy สนับสนุน 50% ของระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า 250 อันดับแรกของโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ นอกจากนี้บริการ Grid Automation ยังรวบรวมความรู้เชิงลึก และเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้ลูกค้าทั่วโลกสามารถเพิ่มประสิทธิภาพระบบที่สำคัญที่ขับเคลื่อน ย้าย และเชื่อมต่อถึงกัน Hitachi Energy กำลังร่วมสร้างโลกที่มีประสิทธิผลและยั่งยืนมากขึ้นกับเหล่าพันธมิตร

Grid Integration

หน่วยธุรกิจ Grid Integration ของ Hitachi Energy ได้ส่งมอบโครงการไปแล้วมากกว่า 4,000 โครงการในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ Grid Integration ครอบคลุมแอพพลิเคชั่นการส่ง การจำหน่ายและสถานีไฟฟ้าย่อยที่หลากหลาย ซึ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการรวบรวมระบบที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพรองรับเครือข่ายไฟฟ้าดิจิทัลในอนาคตโดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

Hitachi Energy รวมระบบแบบบูรณาการ โซลูชั่น บริการของธุรกิจทางด้าน DC และ AC รวมถึงเรื่อง HVDC, สถานีไฟฟ้าย่อย, FACTS, โซลูชั่นทางด้านโครงข่ายไฟฟ้าและคุณภาพไฟฟ้า อาทิเช่น การเชื่อมต่อพลังงานลมนอกชายฝั่งและเซมิคอนดักเตอร์ พร้อมให้คำปรึกษาด้านพลังงานสำหรับกลุ่มต่าง ๆ ในระบบพลังงาน เช่น พลังงานหมุนเวียน ระบบส่ง ระบบจำหน่าย และโซลูชั่นการขนส่งที่ใช้ไฟฟ้า

High Voltage Products

Hitachi Energy เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าแรงสูง โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแรงสูงที่หลากหลายถึง 1,200 กิโลโวลต์ (kV) สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) และ 1,100 กิโลโวลต์สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพของเครือข่ายพลังงาน ในขณะที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยสวิตช์เกียร์คุณภาพสูง

switchgears เซอร์กิตเบรคเกอร์ (circuit-breakers) เครื่องตัดวงจรแหล่งกำเนิดไฟฟ้า (generator circuit breakers) ผลิตภัณฑ์คุณภาพไฟฟ้ากำลัง อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก surge arresters อุปกรณ์ตัดการเชื่อมต่อ เครื่องมือหม้อแปลงไฟฟ้า instrument transformers และบริการไฟฟ้าแรงสูง

นวัตกรรมที่สำคัญในกลุ่มผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าแรงสูงของ Hitachi Energy ได้แก่ เทคโนโลยีคุณภาพไฟฟ้า และแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน สวิตช์เกียร์ที่ประหยัดพลังงาน eco-efficient switchgear เซอร์กิตเบรกเกอร์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบดิจิตอล สวิตช์เกียร์แบบไฮบริดและแบบรวม ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของ Hitachi Energy ยังคงมีส่วนช่วยนวัตกรรมในด้านต่างๆ เช่น การส่งกำลังไฟฟ้าแรงสูงพิเศษ การใช้งานสมาร์ทกริดที่ยืดหยุ่น และการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
Transformers

ด้วยการเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยี นวัตกรรม ผสานความหลากหลายของทีมงาน Transformers ทำให้ Hitachi Energy สามารถเปลี่ยนพลังงานเพื่อเพิ่มมูลค่าทางสังคม ทางสิ่งแวดล้อม และทางเศรษฐกิจ – ทำให้เกิดอนาคตด้านพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นปัจจุบันและคนรุ่นต่อไป Hitachi Energy นำเสนอหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง power transformers, หม้อแปลงเรียงกระแสไฟฟ้า traction transformers ฉนวนและส่วนประกอบ insulation and components เซ็นเซอร์ดิจิทัล และบริการหม้อแปลง

Transformers ของ Hitachi Energy มีเครือข่ายการขายทั่วโลกประมาณ 100 ประเทศ ครอบคลุมการใช้งานสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า การส่งและการจำหน่าย โลหะและเหมืองแร่ น้ำมันและก๊าซ โครงการเชิงพาณิชย์และโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งการคมนาคม ด้วยความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นในกริด Transformers ยังถูกใช้มากขึ้นเพื่อปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้าและการจัดการเครือข่าย ซึ่ง TXpert™ ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญที่เปิดตัวมาเพื่อรองรับการแปลงเป็นดิจิทัลของ Transformers
ไฟฟ้ากับการก้าวสู่อนาคตพลังงานคาร์บอนเป็นกลาง

ตั้งแต่มีการประดิษฐ์คิดค้นไฟฟ้าขึ้นเมื่อ 200 ปีที่แล้ว ไฟฟ้าก็ทำให้ความเป็นอยู่ของคนเราดีขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงและการขับเคลื่อนการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืนในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเหนือกว่าสิ่งที่เราเคยเห็นมา การวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของระบบพลังงานทั้งหมดของโลกแสดงให้เห็นว่าปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 2 เท่าจาก 20 เปอร์เซ็นต์ ณ ปัจจุบัน เป็นมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการพลังงานทั้งหมดภายในปี 2593 และบางภูมิภาคของโลกอาจจะมีความต้องการการใช้ไฟฟ้ามากกว่านี้

ไฟฟ้าจะเป็นกระดูกสันหลังของระบบพลังงานทั้งหมด

ปัจจัยหลักที่มีส่วนส่งเสริมให้เกิดการส่งมอบพลังงานไฟฟ้าที่คาร์บอนเป็นกลางในอนาคต คือ การเชื่อมต่อแหล่งพลังงานจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำในปริมาณที่มากขึ้นเข้ากับกริด การเติบโต การกระตุ้นการใช้ไฟฟ้าจากภาคการขนส่ง อาคาร อุตสาหกรรมของโลก และตัวพาพลังงานเสริมที่ยั่งยืน “ไฮโดรเจนสีเขียว” (Green Hydrogen) เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกจับตามอง ในฐานะหนึ่งในตัวเลือกที่ดีสำหรับอนาคต

ทั้ง 3 ปัจจัยเมื่อรวมกันแล้ว จะทำให้เรามีรากฐานที่ไฟฟ้าจะกลายเป็นกระดูกสันหลังของระบบพลังงานทั้งหมด และสังคมที่ยั่งยืนสามารถก้าวหน้าต่อไปได้ และด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด สะอาดที่สุด คุ้มค่าที่สุดในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การควบคุมพลังงานจากลม แสงแดด และน้ำที่ธรรมชาติมีอย่างไม่จำกัด ทำให้โลกมีกระแสไฟฟ้าใช้ได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ Hitachi Energy คาดว่ากำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 เท่าจนถึงปี 2593
จากที่ทุกภาคส่วนได้ตั้งเป้าหมายเพื่อก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) โดยหลายประเทศทั่วโลกได้กำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนไว้ภายในปี 2593 สำหรับประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญในการลดใช้คาร์บอนไดออกไซด์เช่นกัน โดยมีเป้าหมายสนับสนุนการมุ่งสู่พลังงานสะอาด และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2608 – 2613 (ค.ศ.2065-2070) ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

สำหรับเป้าหมายสู่การสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) Hitachi Energy กำลังร่วมมือกับเหล่า ลูกค้า และเหล่าพันธมิตรในการค้นหาโซลูชั่นระดับโลก เพื่อแก้ไขปัญหาความท้าทายทั่วโลกที่เกี่ยวกับอนาคตด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ปี2564 ที่ผ่านมาทาง Hitachi Energy ได้มีการเปิดตัวพอร์ตโฟลิโอ EconiQ™ เป็นพอร์ตโฟลิโอที่มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถลดการเกิดคาร์บอนฟุตพรินต์ตลอดวงจรชีวิตทั้งหมดได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้Hitachi Energyกำลังพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลและพลังงานร่วมกับเหล่าลูกค้าและพันธมิตร เพื่อช่วยให้ลูกค้าของ Hitachi Energy สามารถ เอาชนะความซับซ้อนและความท้าทายในทุกขีดความสามารถ ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความ เป็นกลางด้านคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพ

“ทั้งนี้ บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ขอเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายพลังงานสะอาด ของประเทศไทย ตลอดจนดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลกของ Hitachi Energy ที่ต้องการบรรลุความเป็นกลาง ด้านคาร์บอนและการมุ่งมั่นขับเคลื่อนอนาคตพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน ” ดร.วรวุฒิ กล่าวปิดท้าย

Ref. https://www.energynewscenter.com/hitachi-energy-thailand-limited-%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%82%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b2/

อ่านต่อ
รัฐเตรียมพร้อมโรงไฟฟ้าใช้ดีเซลเพิ่มขึ้นทดแทนLNG ราคาแพง

รัฐเตรียมพร้อมโรงไฟฟ้าใช้ดีเซลเพิ่มขึ้นทดแทนLNG ราคาแพง

(1 เมษายน 2565) จับตา เม.ย. –พ.ค. 2565 โรงไฟฟ้า IPP กฟผ.ต้องปรับมาใช้น้ำมันดีเซลผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซฯ เกือบทั้งหมด รองรับกรณี LNG แพงและก๊าซฯ แหล่งเอราวัณผลิตได้น้อยลง ปตท.ยืนยันจัดหาน้ำมันได้เพียงพอ ด้านคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหวั่นปัญหาการขนส่งด้วยรถบรรทุกจำนวนมากจะมีปัญหา ขอพิจารณาความมั่นคงไฟฟ้าเป็นหลักว่าจะใช้ดีเซลยาวนานแค่ไหน กระทรวงพลังงานตั้งคณะทำงานดูแลวิกฤติไฟฟ้ารอบนี้แล้ว ยืนยันแม้เกิดพีคไฟฟ้า เม.ย. 2565 แต่กำลังการผลิตไฟฟ้ามีเพียงพอ พร้อมพยายามบริหารเชื้อเพลิงไม่ให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับ

กรมธุรกิจพลังงาน และบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เตรียมความพร้อมรองรับวิกฤติราคาก๊าซธรรมชาติแพง โดยในเดือน เม.ย.-พ.ค. 2565 นี้ โรงไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่(IPP) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เกือบทั้งหมด จะเปลี่ยนจากการใช้ก๊าซฯ ผลิตไฟฟ้าเป็นใช้น้ำมันดีเซลแทน เพื่อแก้ปัญหาราคาก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) แพง และรองรับกรณีแหล่งก๊าซฯ เอราวัณ ไม่สามารถผลิตก๊าซฯ ได้ตามสัญญา ในช่วงที่ผู้รับสัมปทานรายเดิมหมดอายุสัญญาวันที่ 23 เม.ย. 2565 นี้

โดยปัญหาหลักอยู่ที่การขนส่งน้ำมันทางบก ที่ต้องใช้รถบรรทุกจำนวนมากต่อวัน ซึ่งต้องมีการเตรียมพร้อมทั้งรถบรรทุก คลังเก็บน้ำมันและเส้นทางถนนที่รถบรรทุกจะวิ่งผ่าน หากเกิดอุบัติเหตุกับรถขนส่งจะกระทบต่อการใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้าได้

แหล่งข่าวคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) กล่าวว่า ในเดือน เม.ย. 2565 นี้ หากเทียบราคา LNG กับดีเซล จะพบว่า LNG มีราคาแพงกว่า โดยอยู่ที่ 30 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ขณะที่ราคาดีเซลจะอยู่ประมาณ 20 บาทต่อลิตร ดังนั้นในเดือน เม.ย. 2565 จึงต้องเลือกใช้น้ำมันในการผลิตไฟฟ้าแทน LNG แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องใช้ดีเซลเดินเครื่อง 100% สำหรับโรงไฟฟ้า IPP ของ กฟผ. แต่ต้องขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันและการขนส่งว่าจะดำเนินการได้มากแค่ไหน ถ้ามีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับ กกพ.ก็อาจให้หยุดใช้น้ำมันและกลับไปใช้ก๊าซ LNG ได้

ทั้งนี้เนื่องจากโรงไฟฟ้าจะใช้น้ำมันได้ 3 วันต่อรถบรรทุกน้ำมัน 1 คัน และกว่าจะเติมเต็มถังสำหรับผลิตไฟฟ้าแต่ละโรงใช้เวลากว่า 10 วัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการขนส่ง ประกอบกับในเดือน เม.ย. 2565 เป็นช่วงฤดูร้อนที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ทำให้ยิ่งต้องใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้ามากขึ้นอีก ดังนั้น กกพ.จะต้องดูเรื่องความมั่นคงไฟฟ้าประเทศเป็นหลักว่าเหมาะสมจะใช้น้ำมันยาวนานแค่ไหนต่อไป

อย่างไรก็ตามปัจจุบันกระทรวงพลังงานได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแลในเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยมีตัวแทนจาก กกพ. กรมธุรกิจพลังงาน ปตท. และ กฟผ. เป็นต้น โดยขณะนี้ กฟผ. อยู่ระหว่างการวางแผนเตรียมความพร้อมโรงไฟฟ้าสำหรับใช้ดีเซล และกรมธุรกิจพลังงานเตรียมความพร้อมด้านการขนส่งน้ำมัน ส่วน ปตท.ยืนยันว่าน้ำมันมีเพียงพอป้อนโรงไฟฟ้าได้

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. เวลา 20.43 น. ได้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด(พีค) ของปี 2565 ขึ้นแล้ว ซึ่งเป็นในส่วนของการใช้ไฟฟ้ารวม กฟผ. โดยมียอดใช้ไฟฟ้ารวม 30,349 เมกะวัตต์ ซึ่งสูงกว่าปี 2564 ที่เกิดพีคในวันที่ 2 เม.ย. 2564 เวลา 21.03 น. ที่ 30,135 เมกะวัตต์ และสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่คาดว่าจะอยู่ระดับ 27,000-28,000 เมกะวัตต์ ในปี 2565 นี้ด้วย

อย่างไรก็ตามแม้จะเกิดพีคไฟฟ้าขึ้นอีกในเดือน เม.ย. 2565 นี้ แต่ประเทศไทยยังมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงถึง 5 หมื่นเมกะวัตต์ ดังนั้นยืนยันได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาไฟฟ้าขาดแคลนแน่นอน แต่ที่ต้องกังวลคือเชื้อเพลิงที่จะใช้ผลิตไฟฟ้าจะเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากในเดือน เม.ย. 2565 นี้แหล่งก๊าซฯเอราวัณจะหมดอายุสัมปทานและเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ผู้ดำเนินงานรายใหม่ ซึ่งทำให้การผลิตก๊าซฯ ลดลง ประกอบกับราคาก๊าซ LNG นำเข้ามีราคาสูง ภาครัฐจึงหันไปใช้ดีเซลผลิตไฟฟ้าแทน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านไฟฟ้าในประเทศ

Ref. https://dmf.go.th/public/list/data/detail/id/17373/menu/593/page/1

อ่านต่อ
รถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนในไทยผงาด คาดปี’65 ครองส่วนแบ่งตลาด 80%

รถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์จีนในไทยผงาด คาดปี’65 ครองส่วนแบ่งตลาด 80%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดปี’65 ส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าจีน จะเพิ่มเป็น 80% ของยอดขายรวมรถยนต์ไฟฟ้าปีนี้ที่คาดว่าจะมีมากกว่า 1 หมื่นคัน หรือโตขึ้น 412%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ปี 2565 ส่วนแบ่งทางการตลาดของรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีน จะเพิ่มขึ้นเป็น 80% ของยอดขายรวมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยปีนี้ที่คาดว่าจะมีมากกว่า 1 หมื่นคัน หรือเติบโตขึ้นมากกว่า 412% จากปี 2564 รถยนต์ไฟฟ้ามียอดจะทะเบียนจากกรมขนส่งทางบกอยู่ที่ 1,954 คัน โดยรถยนต์ไฟฟ้าจีนมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 58% จุดแข็งสำคัญในการทำตลาดของแบรนด์รถยนต์สัญชาติจีน คือ การเลือกผลิตภัณฑ์บุกตลาดและการตั้งราคาที่ดึงดูดใจผู้ซื้อในวงกว้างมากขึ้น
ทั้งนี้ ซึ่งได้แรงหนุนของมาตรการทางด้านภาษีและเงินสนับสนุนของภาครัฐ 70,000 – 100,000 บาทมาช่วยกระตุ้น ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนขยับราคาลงไปสูสีกับรถยนต์ใช้น้ำมันที่ไม่ได้รับการสนับสนุนของภาครัฐ ขณะที่สถานการณ์ราคาน้ำมันยังคงผันผวนสูงยิ่งส่งผลให้รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนมีความน่าสนใจ

นับจากนี้คาดว่าจะเริ่มเห็นสัญญาณการบุกตลาดและเข้ามาลงทุนของค่ายรถสัญชาติจีนรายใหม่ๆที่ชัดเจนขึ้น ทั้งที่เข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตเองและที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการไทยให้เป็นผู้ประกอบรถให้ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีที่อาจได้เห็นรถยนต์หลายรุ่นที่ลงมาแข่งขันกันในตลาดกลุ่มราคาเข้าถึงง่ายมากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน

การออกมาตรการส่งเสริมของรัฐบาลทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศปรับเข้าสู่โหมดการแข่งขันอย่างคึกคักขึ้นทันที จากความสนใจในการจองรถยนต์ในงานมอเตอร์โชว์ 2020 นำโดยค่ายรถจีนที่แม้ในแง่ภาพแบรนด์จะยังใหม่และมีฐานตลาดน้อยกว่าเจ้าตลาดเก่า แต่เพราะมีความพร้อมในแง่ของเทคโนโลยีและมีสต๊อกสินค้ามากพอสำหรับนำเข้ามาจำหน่ายได้ทันที จึงอาศัยช่องว่างทางการตลาดในปัจจุบันสร้างฐานลูกค้าได้ก่อนค่ายรถกระแสหลักที่คาดว่าจะเริ่มทำตลาดได้ในช่วงปลายปี
สำหรับกลุ่มผู้ซื้อหลักนอกจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและได้รับผลกระทบน้อยจากภาวะเศรษฐกิจแล้ว อีกกลุ่มที่ช่วยดันยอดให้ขึ้นสู่ตัวเลขดังกล่าว น่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งมีศักยภาพในช่วงที่ตลาดผู้บริโภคส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับภาวะกำลังซื้อชะลอลง

ส่วนปัจจัยสำคัญที่หนุนให้ตลาดรถยนต์รถยนต์ไฟฟ้าในปีนี้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดมาจากแนวทางการส่งเสริมการสร้างตลาดและระบบโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ สถานีชาร์จไฟฟ้า ที่เอื้อต่อการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ รวมถึงภาคเอกชนเองก็เล็งเห็นถึงโอกาสเติบโตจึงเร่งกระตุ้นตลาดอีกทางหนึ่ง อาทิ การให้สินเชื่อพิเศษสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และการเริ่มหาช่องทางขยายจุดชาร์จไฟฟ้าไปตามสถานที่หลากหลายเพิ่มขึ้น

Ref. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C/169467

อ่านต่อ