What We Do

Active Consultants (Thailand)

Consulting Service

บริการให้คำปรึกษาด้านดำเนินการตามกรอบของพระราชบัญญัติร่วมทุน รัฐและเอกชน

บริการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ

บริการให้คำปรึกษาด้านงานวิจัยและพัฒนา

บริการให้คำปรึกษาด้านการธุรกิจและการลงทุน

บริการให้คำปรึกษาธุรกิจโดยใช้ หลักทฤษฎี วิเคราะห์ความเป็นไปได้ สรุปผลการวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ

บริการด้านวิจัยและพัฒนา

บริษัทร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำภายในประเทศและต่างประเทศ

ด้านดำเนินการ ตามกรอบของพระราชบัญญัติร่วมทุน รัฐและเอกชน

บริการให้คำปรึกษาการวิเคราะห์วางแผนเกี่ยวกับการลงทุนธุรกิจอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อช่วยให้รู้และเข้าใจธุรกิจมากขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการที่เกี่ยวข้องถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีและประมวลรัษฎากร สามารถนำข้อมูลไปใช้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

คำถามที่ต้องการคำตอบให้คุณ

สำหรับ อาชีพที่ปรึกษาทางธุรกิจ 

คนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเข้าใจว่าอาชีพนี้แท้จริงแล้วทำอะไร และมักจะมองผ่านไปเนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง หรือเกี่ยวแต่ยังเลือกที่จะทำ หรือดำเนินการแบบเดิมๆ แม้ว่าจะอธิบายอย่างไร หลายคนก็ไม่เข้าใจอยู่ดี เอาเป็นว่า อาชีพที่ปรึกษาทางธุรกิจ สามารถเรียกอย่างเป็นทางการได้ว่า Business Consultant ซึ่งจะดำเนินการดังต่อไปนี้

ในด้านลักษณะการทำงานจะเป็นไปในด้านการแก้ไขปัญหาทางด้านการบริหารธุรกิจเป็นสำคัญ กล่าวคือ หาใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการธุรกิจเข้ามาปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือ ด้วยประสบการณ์และความรู้ ก็จะเข้าไปช่วยเหลือในส่วนนี้ หากธุรกิจไหนที่เดินไปอย่างไม่มีการสะดุด หรือมีปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้บริการก็ได้นะคะ

 

 สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพเหล่านี้แน่นอนเลยว่าจะต้องมากมายไปด้วยประสบการณ์และความสามารถเพียงพอ อีกทั้งควรจะมีคุณลักษณะพื้นฐานดังนี้

 

  • ความสามารถในการคิดเชิงภาพรวม

     

เป็นจุดที่นักปรึกษาที่ดีจำเป็นต้องมีกันเป็นลำดับแรกๆ ซึ่งการเข้าใจสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น จะนำไปสู่การแยก ความสัมพันธ์ และประเด็นสำคัญของปัญหานั้น ๆ จะส่งผลต่อการกำหนดกรอบในการแก้ไขปัญหาเพื่อจะได้ลงตัวและมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเองค่ะ ซึ่งการทำอาชีที่ปรึกษาจะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อที่จะได้นำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ  

บ่อยครั้งเมื่อที่ปรึกษาได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา แล้วเริ่มดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่กระบวนการในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสำหรับการดำเนินการรูปแบบนี้สิ่งที่เกี่ยวข้องคือเวลา และมีรูปแบบที่หลากหลายขั้นตอนในการดำเนินการและที่สำคัญค่อนข้างซับซ้อน ทำให้ที่ปรึกษาเองหลุดออกจากรอบที่ได้ตั้งไว้ กล่าวคือ ทำการแก้ไขที่ห่างไกลจากปัญหาออกไปนั่นเองค่ะ โดยการลืมว่าจุดเริ่มต้นว่าปัญหาเกิดจากอะไร เหตุผลในการกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาคืออะไร มัวแต่ไปมุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้ามากเกินไป จนทำให้ปัญหาหรือสาเหตุหลักที่แท้จริงยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ล้มเหลว


 

  • ความสามารถในการคิดเห็นในรูปแบบเชิงกลยุทธ์

 เป็นอีกหนึ่งความสามารถของปรึกษาที่จำเป็นต้องมี เพื่อที่จะได้ใช้ในการเลือกวิธีการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ให้สามารถกลับเข้ามาสู่สภาวะปกติได้เร็ว และที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดด้วยการมองเห็นถึงรูปแบบและความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของปัญหา ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า คู่แข่งขัน บุคลากร หรือ ความพร้อมภายในองค์กร เพื่อเลือกวิธีการที่ดีที่สุดนั่นเอง

ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ และการขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ สาเหตุที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวมากที่สุด นั่นไม่ได้เป็นเพราะว่ากลยุทธ์ไม่ดีหรอกนะคะ สาเหตุที่แท้จริงเป็นเพราะว่าไม่มีกลยุทธ์ไหนหรอกที่ดีที่สุด ซึงบ่งบอกได้เลยว่าทุกกลยุทธ์ ล้วนประกอบไปด้วยจุดอ่อน แต่ที่ปรึกษาเองจะเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมและความน่าจะเป็นน่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุด จากประสบการณ์ที่เคยเห็นมาพบว่าความล้มเหลวส่วนใหญ่จะมาจากขั้นตอนการสื่อสารระหว่างที่ปรึกษา กับผู้ดำเนินการ เนื่องจากการที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจการดำเนินงาน หรือการประสานงานเป็นเรื่องยาก


 

  • ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุมีผล

เป็นความสามารถในการเข้าใจแนวคิด หรือแนวทางแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล ซึ่งจะส่งผลดีในการทำความเข้าใจและนำสู่การหาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรวมถึงการกำหนดแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังทำให้การสื่อสารหรืออธิบายในผู้อื่นเข้าใจได้รวดเร็วและง่ายขึ้น


 

  • งานที่ปรึกษามีลักษณะเฉพาะหน้า

คือ ต้องให้คำตอบหรือผลตอบรับ ที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ จะเป็นตัวช่วยได้อย่างดี เพราะในหลาย ๆ กรณีหากมีข้อมูลที่เรียกว่า ฟังดูไม่มีเหตุผล หรือขัดกับความรู้สึกในด้านเหตุและผล ข้อมูลดังกล่าวมักจะเป็นข้อมูลที่ผิด หรือ ไม่ควบถ้วน

ที่มา www.moneyhub.in.th

 

การคำนึงถึงความเจริญเติบโตและยั่งยืนของธุรกิจเป็นหัวใจสำคัญ สร้างสรรค์แผนการตลาด แผนธุรกิจ หรือ Business plan มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาและยกระดับการทำ marketing plan แต่เรายังคิดเหมือนเราเป็นหุ้นส่วน คุณสามารถมั่นใจได้ว่าแผนกลยุทธ์และแผนการตลาดของเรานั้นถูกสร้างมาเพื่อธุรกิจของคุณอย่างแท้จริง

ที่ปรึกษาสามารถให้คำปรึกษาได้ตั้งแต่งานออกแบบโครงการ ประมูลและจัดหาผู้รับเหมา เปรียบเทียบและให้คำปรึกษาในการเลือกผู้รับเหมาแก่เจ้าของโครงการ วิเคราะห์โครงการ วิเคราะห์ความเสี่ยงทางกฎหมาย ความคุ้มทุน แผนงานของโครงการ และอื่นๆอีกมาก และจะเห็นว่าถ้าจะให้งานก่อสร้างออกมามีคุณภาพสูงสุดควรจะมีที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญเป็นเหมือนเพื่อนคู่คิด

ที่ปรึกษาธุรกิจ ใครเขาใช้กัน ?

ในการทำธุรกิจ ต่อให้เรามีความเชี่ยวชาญ เรียกได้ว่าเป็นปราชญ์ในวงการ แต่เมื่อกับเจอโจทย์ใหม่ ๆ ความท้าทายใหม่ ๆ หรือ ปัญหาใหม่ ๆ การที่จะถือ “ความเป็นปราชญ์” ของตัวเองล้วน ๆ แล้วลุยเดินหน้าไปเลยในโจทย์ ความท้าทาย หรือปัญหาใหม่ ๆ นั้น โอกาสที่เราจะพลาดก็มีสูง หรือไม่ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะ “ค้นพบ” ว่าทางออกที่ถูกต้องได้ผลดีนั้นคืออะไร ซึ่งในหลายครั้ง ก็อาจนานไปจนธุรกิจเกิดความเสียหายใหญ่โต หรือไม่ก็โดนคู่แข่งแซงหน้าไปหลายขุม

 

 

 

ดังนั้น หากจะตอบคำถามที่เป็นหัวข้อของบทความนี้ ว่า ที่ปรึกษาธุรกิจนั้น มีใครเขาใช้กันบ้าง ก็พอจะตอบได้ว่า “ใคร ๆ เขาก็ใช้กัน”

อัตราค่าบริการในปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร ความยากง่ายและความซับซ้อนของปัญหา สามารถติดต่อถามคำปรึกษาเบื้องต้นได้